ความเป็นมา


“ราชประชาสมาสัย” นามพระราชทานจาก พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร รัชกาลที่ 9 อันหมายถึง “พระราชาและประชาชนย่อมพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน” (Mutual support between the king and people) มีสัญลักษณ์คือรูปดอกบัวกับน้ำ โดยดอกบัวหมายถึงพระมหากษัตริย์ น้ำหมายถึงประชาชน

อดีต

โรคเรื้อนและโรคระบาด

โรคเรื้อนเป็นโรคที่พบมานานในประเทศไทย โดยพบมาในภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เป็นโรคที่สังคมรังเกียจ ไม่ยอมรับ และไม่ได้รับการแก้ไขหรือได้รับการช่วยเหลืออย่างเท่าที่ควร ในช่วงต้นรัชกาลที่ 9 เกิดโรคระบาดร้ายแรง คือ อหิวาตกโรค วัณโรค โรคเรื้อน และโรคโปลิโอ ซึ่งคร่าชีวิตผู้คนหรือทำให้พิการเป็นจำนวนมาก
2493

โครงการพระราชดำริ

เริ่มโครงการพระราชดำริด้านการแพทย์และสาธารณสุขโดยพระบาทสมเด็จเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9 ได้: พระราชทานพระบรมราชานุเคราะห์แก่ผู้ป่วย, พระราชทานพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ให้สภากาชาดไทยทำการศึกษาและพัฒนาน้ำเกลือมีคุณภาพเพื่อใช้ในผู้ป่วยที่เป็นอหิวาตกโรค, ทรงให้ผลิตวัคซีนบี.ซี.จี.เองสำหรับป้องกันวัณโรค,โปรดเกล้าฯให้มีสถานที่รักษาผู้ป่วยด้วยวิธีทางกายภาพบำบัด เป็นศูนย์ฟื้นฟูที่มีอุปกรณ์ครบครันสำหรับผู้ป่วยโรคโปลิโอ, พระราชทานพระราชดำริในการควบคุมโรคเรื้อน ให้การรักษาและช่วยเหลือผู้ป่วย ตลอดจนปฏิบัติงานค้นคว้าวิจัยและเผยแพร่ความรู้เรื่องการป้องกันและรักษาโรคเรื้อน รวมกระทั่งถึงให้บริการด้านการฟื้นฟูร่างกายและการฝึกอาชีพ
2496

ผู้ป่วยโรคเรื้อน

โรคเรื้อนเป็นโรคที่คนรังเกียจ ด้วยสภาพของผู้ป่วยที่มีเม็ดตุ่มเต็มใบหน้าและร่างกาย บางรายจมูกกุด มือกุด เท้ากุด รวมทั้งคนทั่งไปยังขาดความรู้ว่าโรคนี้สามารถรักษาให้หายได้และไม่ได้ติดต่อกันง่ายๆ อัตราความชุกของผู้ป่วยโรคเรื้อนคือ 50 คน ต่อประชากร 10,000 คน
2500

เร่งจัดการปัญหา

พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร รัชกาลที่ 9 ทรงมีพระราชดำริถึงการเร่งจัดการปัญหาโรคเรื้อนเนื่องจากทรงตระหนักถึงปัญหาโรคเรื้อนของประชาชนชาวไทย ทรงเห็นถึงปัญหา และทรงมีความห่วงใยต่อพสกนิกร ซึ่งสมัยก่อนนั้นยังไม่มียารักษาโรคเรื้อนที่ได้ผลดี ส่งผลให้ผู้ป่วยเกิดความพิการ ทั้งผู้ป่วยโรคเรื้อนและครอบครัว ต้องหลบซ่อนตัวจากสังคม
2501

ราชประชาสมาสัย

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9 ได้พระราชทานทุนอานันทมหิดลให้กับกระทรวงสาธารณสุข เพื่อจัดตั้ง “ราชประชาสมาสัย” ในวันที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2501 เพื่อเป็นสถานศึกษา ค้นคว้า วิจัย ฝึกอบรม และให้ความรู้เรื่องโรคเรื้อน ถือเป็นยุคเร่งค้นหาผู้ป่วยและรักษาโรคเรื้อนที่บ้าน รีบทำการรักษาก่อนที่โรคเรื้อนจะก่อให้เกิดอันตรายกับพสกนิกร ทรงมีพระราชปณิธานกำจัดโรคเรื้อนให้หมดไปจากประเทศไทย
2503

มูลนิธิราชประชาสมาสัย

มูลนิธิราชประชาสมาสัย ในพระบรมราชูปถัมภ์ ได้รับพระราชทานทรัพย์จากล้นเกล้าฯในหลวงรัชกาลที่ 9 จัดตั้งขึ้น เพื่อสนับสนุนการดำเนินงานโครงการตามแนวพระราชดำริ
2513 ความสำเร็จขั้นต้น

ค้นหาผู้ป่วยเชิงรุก

สามารถค้นพบผู้ป่วยโรคเรื้อนชุกชุมใน ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคเหนือ และภาคกลาง (40 จังหวัด) และได้ดำเนินการรักษาที่บ้านรวมทั้งสิ้น 111,722 คน ลดขนาดของปัญหาลงเหลือ 12.47 คน ต่อ 10,000 คน
2524-2527

พัฒนาการรักษา

พัฒนาแนวทางการรักษาด้วยยาผสมระยะสั้น เพื่อลดระยะเวลาการรักษาคู่ขนานไปกับการเร่งสำรวจค้นหาผู้ป่วยในทุกอำเภอ หมู่บ้าน ตลอดจนปฏิบัติงานค้นคว้าวิจัยและเผยแพร่ความรู้เรื่องการป้องกันและรักษาโรคเรื้อน รวมกระทั่งถึงให้บริการด้านการฟื้นฟูร่างกายและการฝึกอาชีพ
2527

ความสำเร็จระดับสากล

ลดอัตราความชุกของโรคเรื้อนเฉลี่ยทั้งประเทศจนต่ำกว่าเกณฑ์สากลที่เป็นปัญหาสาธารณสุข คือ 1 ต่อ 10,000 ประชากร นับเป็นความสำเร็จที่หน่วยงานทุกภาคส่วนได้ร่วมกันสนองพระราชปณิธาน จนได้รับการรับรองจากองค์การอนามัยโลกว่าประเทศไทยเป็นประเทศที่มีการดำเนินงานควบคุมโรคเรื้อนในลักษณะองค์รวมจนประสบความสำเร็จอย่างดีเยี่ยม
ปัจจุบัน

ความสำเร็จแบบยั่งยืน

อัตราความชุกของผู้ป่วยโรคเรื้อนมีเพียง 0.07 เท่านั้นต่อจำนวนประชากร 10,000 คน (ข้อมูลกรมควบคุมโรค พ.ศ.2558) ปัจจุบันประเทศไทยสามารถกำจัดโรคเรื้อนจนไม่เป็นปัญหาสาธารณสุข นับเป็นความสำเร็จที่หน่วยงานต่าง ๆ ได้ร่วมกันสนองพระราชปณิธานสืบสานแนวพระราชดำริ ซึ่งช่วยให้ผู้ป่วยนับแสนคนที่หลบซ่อนหรือไม่รู้ว่าตนเองป่วยได้รับการตรวจรักษาโรคจนหายขาด ผู้พิการได้รับการดูแลให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น
สืบสาน รักษา ต่อยอด

ชมรมจิตอาสาราชประชาสมาสัย

ได้รับการสนับสนุนการจัดตั้งจากมูลนิธิราชประชาสมาสัย ในพระบรมราชูปถัมภ์ เพื่อช่วยพัฒนาคุณภาพชีวิต ทำกิจกรรมช่วยเหลือสังคม โดยไม่หวังสิ่งตอบแทน


“ชมรมจิตอาสาราชประชาสมาสัย” จัดตั้งขึ้นเพื่อช่วยพัฒนาคุณภาพชีวิต เพื่อสร้างเครือข่ายชุมชนให้มีภูมิคุ้มกัน เพื่อให้เป็นสังคมที่พึ่งพาอาศัยกัน ส่งเสริมการพัฒนาสังคมของประเทศตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ผ่านทางการทำกิจกรรมช่วยเหลือสังคม โดยไม่หวังสิ่งตอบแทน

วันที่ 16 มกราคมของทุกปีเป็น “วันราชประชาสมาสัย”

ข้อมูลจาก สถาบันราชประชาสมาสั และ สำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ (สำนักงาน กปร.)

โรคเรื้อน Leprosy or
Hansen’s disease


โรคเรื้อน ขี้ทูต กุฏฐัง หรือ หูหนาตาเล่อ
จัดเป็นโรคติดต่อเรื้อรัง โดยจะก่อให้เกิดอาการของโรคที่ผิวหนัง เช่น มีผื่นวงขาว ผื่นตุ่ม หากได้รับการรักษาจะหายได้เป็นปกติ แต่หากปล่อยทิ้งไว้โดยไม่รักษา โรคจะลุกลามอย่างช้าๆ ผิวหนังหนาเป็นเม็ด เป็นตุ่ม ขาบวม ในระยะท้ายของโรค ผิวหนังจะเห่อหนา เส้นประสาทบวมโต มีอาการชา นิ้วมือนิ้วเท้างอ เหยียดไม่ออก มือหงิก พิการ นิ้วกุด เท้าตก หรือตาบอด จมูกแหว่ง
ในอดีตโรคเรื้อนเป็นโรคที่คนรังเกียจ ด้วยสภาพของผู้ป่วยที่มีเม็ดตุ่มเต็มใบหน้าและร่างกาย บางรายจมูกกุด มือกุด เท้ากุด รวมทั้งคนทั่งไปยังขาดความรู้ว่าโรคนี้สามารถรักษาให้หายได้และไม่ได้ติดต่อกันง่ายๆ