


เมื่อวันที่ 24 สิงหาคม 2566 คณะกรรมฝ่ายราชประชาสมาสัย เฉลิมพระเกียรติ มูลนิธิราชประชาสมาสัยในพระบรมราชูปถัมภ์ ได้เข้าร่วมประชุม โครงการเครือข่ายสานฝันเพื่อเด็กและเยาวชน ครั้งที่ 1/2566 โดยนายอรุณ วิชกิจ ผู้แทนนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดระยอง เป็นประธานในการเปิดประชุม
เพื่อหาแนวทางการช่วยเหลือเด็ก และครอบครัว ต่อยอดจากการจัดกิจกรรมค่ายสานรักครอบครัวเมื่อวันที่ 23 ถึง 25 มิถุนายน 2566 ณ โรงแรมโกลเด้นซิตี้จังหวัดระยอง เพื่อให้เกิดแรงบันดาลใจสร้างขวัญกำลังใจในการวางแผนอนาคตเรื่องการศึกษาและการวางแผนการใช้ชีวิตอย่างมีเป้าหมาย การประกอบอาชีพ เพื่อตนเองและครอบครัว และเครือข่ายต่างๆที่เข้าร่วมได้มีโอกาสแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและประสบการณ์ร่วมกัน เพื่อช่วยเหลือเด็กเยาวชนให้ทันความต้องการซึ่งเป็นอีกหนึ่งโครงการนอกจากการสนับสนุนทุนพระราชทานการศึกษาต่อเนื่องแก่นักเรียนทุน โดยได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากมูลนิธิสงเคราะห์เด็กอ่อนพญาไทและองค์การบริหารส่วนจังหวัดระยองในการจัดประชุม
ช็อก “กรมปกครองส่วนท้องถิ่น” ยันปลูกยางขั้นตํ่า 80 ต้นต่อไร่ ต้องเสียภาษีที่ดิน กระทบเกษตรกรจ่ายภาษีบาน ระบุสวนยาง 21 ล้านไร่ยังไม่รู้เรื่อง สมาคมสหพันธ์ชาวสวนยางฯ เตรียมยื่นเรื่องศาลปกครองกลาง เปิดไต่สวนฉุกเฉิน ระบุขัด พ.ร.บ.การยางฯ หวั่นเติมเชื้อไฟราคายางตกตํ่า
เนื่องจากในปี พ.ศ. 2533 ได้เกิดการเรียกร้องของเกษตรกรชาวสวนยาง ขอความเป็นธรรมจากราคายางที่ตกต่ำ โดยมีการปิดทางรถไฟที่ชุมทางรถไฟทุ่งสง จังหวัดนครศรีธรรมราช ซึ่งนายบรรหาร ศิลปอาชา
เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ในสมัยนั้น และเป็นผู้รับผิดชอบกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง ได้เดินทางไปแก้ปัญหา และมีความเห็นว่าควรจัดตั้งคณะกรรมการนโยบายยางแห่งชาติ (กนย.) โดยมีนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน เพื่อร่วมกันแก้ปัญหาเรื่องยาง ซึ่งการจัดตั้งนั้นต้องประกอบด้วยตัวแทนรัฐบาล ตัวแทนพ่อค้ายางและตัวแทนเกษตรกรชาวสวนยาง แต่จากการสำรวจปรากฏว่ายังไม่มีผู้แทนเกษตรกรชาวสวนยาง
ในระดับประเทศ ดังนั้น นายบรรหาร ศิลปะอาชา รัฐมนตรีฯ จึงสั่งให้นายอุดร ตันติสุนทร รัฐมนตรีช่วยฯ ดำเนินการจัดตั้งสถาบันเกษตรกรระดับประเทศ เพื่อเข้าไปเป็นคณะกรรมการนโยบายยางแห่งชาติ (กนย.)
โดยให้กรมวิชาการเกษตรเป็นผู้ดำเนินการ จากการสำรวจปรากฏว่ามีสมาคมชาวสวนยางอยู่ 3 สมาคม คือ สมาคมชาวสวนยางจังหวัดระยอง, ชลบุรี และภูเก็ต จึงรวบรวม 3 สมาคม จดทะเบียนเป็นสมาคมสหพันธ์ชาวสวนยางแห่งประเทศไทย เมื่อวันที่ 21 พฤษภาคม 2533 เพื่อส่งผู้แทนเข้าเป็นคณะกรรมการนโยบายยางแห่งชาติ ซึ่งจากการคัดเลือกนายอุทัย สอนหลักทรัพย์ ได้เป็นนายกสมาคมสหพันธ์ชาวสวนยางแห่งประเทศไทย
และเป็นตัวแทนในคณะกรรมการนโยบายยางแห่งชาติ ซึ่งสมาคมสหพันธ์ชาวสวนยางแห่งประเทศไทย
ได้มีนายกสมาคมฯ ตามรายชื่อดังนี้
วัตถุประสงค์
เป้าหมาย
บทบาทหน้าที่ของสมาคมสหพันธ์ชาวสวนยางแห่งประเทศไทย
ผลการดำเนินงานที่สมาคมสหพันธ์ชาวสวนยางแห่งประเทศไทยเป็นผู้ริเริ่ม พอสังเขป
นโยบายและแผนการขับเคลื่อนในอนาคต
“ผลักดันให้มีการแปรรูปผลผลิตยางพาราภายในประเทศเป็นอุตสาหกรรมยางมากกว่าส่งวัตถุดิบยางพาราเป็นสินค้าออกคู่ไปกับดูแลรักษาสิ่งแวดล้อม ผลิตภัณฑ์สามารถตรวจสอบย้อนกลับได้ รวมทั้งร่วมขับเคลื่อนให้มีการตรวจวัดคาร์บอนด้วยนวัตกรรมและสามารถซื้อ-ขายคาร์บอนเครดิตเป็นอาชีพเสริมให้แก่เกษตกร ให้เป็นวาระแห่งชาติก้าวสู่การเป็นศูนย์กลางตลาดยางพารา (Hub) ของโลกในอนาคต”
นายอุทัย สอนหลักทรัพย์ นายกสมาคมสหพันธ์ชาวสวนยางแห่งประเทศไทย เปิดเผยว่า สมาคมสหพันธ์ชาวสวนยางแห่งประเทศไทย พร้อมคณะ ได้เข้าพบนายประสิทธิ์ ดำรงชิตานนท์ รองประธานกรรมการ ธุรกิจพืชครบวงจร ข้าว ขนส่งและบริการเครือเจริญโภคภัณฑ์ เพื่อหารือแนวทางการเชื่อมโยงการด้านการตลาดทั้งด้านยางพารา มันสำปะหลัง ข้าวโพด และทุเรียน ในเขตพื้นที่เศรษฐกิจพิเศษ ภาคตะวันออก (EEC) จังหวัดระยอง เพื่อให้เป็นไปตาม 5 คลัสเตอร์ ประกอบด้วย ผลไม้ ประมง พืชสำหรับอุตสาหกรรมชีวภาพ พืชสมุนไพร เกษตรมูลค่าสูง และคลัสเตอร์ที่ 6 ยางพารา ล่าสุด ได้ผ่านการพิจารณาจากสำนักนายกรัฐมนตรีเรียบร้อยแล้ว พร้อมกันนี้ ได้เสนอโครงการต่าง ๆ ที่สำคัญ เช่น โครงการอิ่มท้องสมองดี (อาหารกลางวันเด็ก)โครงการเกษตรปลอดภัยครัวไทยสู่ครัวโลก โครงการด้านการจัดการสิ่งแวดล้อมในโรงงาน(CSR) คาร์บอนเครดิตในสวนยาง การจัดงานมหกรรมยางพาราไทย-จีน ครั้งที่ 2 จังหวัดระยอง และเชิญร่วมศึกษาดูงานด้านยางพารา ที่สาธารณรัฐประชาชนจีน อย่างไรก็ตาม การเข้าพบครั้งนี้เป็นการเชื่อมโยงและต่อยอดในการพัฒนาสินค้าเกษตร การแปรรูปให้ได้คุณภาพ และได้มาตรฐานตามกระบวนการผลิตอย่างเป็นระบบ
CR: กัญญ์พรภัสร์ เอี่ยมมีชัย/ผู้สื่อข่าวจังหวัดพระนครศรีอยุธยา/รายงาน
Retrieved from https://arunnewsalannews.blogspot.com/2023/07/eec.html?m=1
”โครงการเครือข่ายสานฝันเด็ก และเยาวชน” จังหวัดระยอง
โครงการฯ นำล่องที่เริ่มที่จังหวัดระยอง เป็นครั้งแรกและเป็นที่แรก ก่อนจะเริ่มในที่ต่อไป ภายใต้ความรับผิดชอบของ
มูลนิธิราชประชาสมาสัย ในพระบรมราชูปถัมภ์ ฝ่ายเฉลิมพระเกียรติ
โดยมีรายนามผู้เข้าร่วมโครงการฯ ดังนี้
สนับสนุนเข้าร่วมโครงการเครือข่ายฯ จากส่วนกลางประกอบด้วย
สนับสนุนโครงการเครือข่ายฯในจังหวัดระยอง ประกอบด้วย
ท่านประธานมูลนิธิฯ ฝ่ายเฉลิมพระเกียรติได้กำหนดวันประชุมผู้เข้าร่วมเครือข่ายเพื่อทำความรู้จัก และแนะนำตัว นำเสนอความคิดเห็น แลกเปลี่ยนประสบการณ์เพื่อเพิ่มศักยภาพ และสอดคล้องในการดำเนินงานร่วมกัน
วัน/เดือน/ปี
วันพฤหัสบดีที่ ๒๔ สิงหาคม ๒๕๖๖
เวลา ๑๔.๐๐ – ๑๖.๓๐ น
สถานที่ ห้องประชุม สำนักงาน อบจ. สนับสนุนโดย อบจ.