


ช็อก “กรมปกครองส่วนท้องถิ่น” ยันปลูกยางขั้นตํ่า 80 ต้นต่อไร่ ต้องเสียภาษีที่ดิน กระทบเกษตรกรจ่ายภาษีบาน ระบุสวนยาง 21 ล้านไร่ยังไม่รู้เรื่อง สมาคมสหพันธ์ชาวสวนยางฯ เตรียมยื่นเรื่องศาลปกครองกลาง เปิดไต่สวนฉุกเฉิน ระบุขัด พ.ร.บ.การยางฯ หวั่นเติมเชื้อไฟราคายางตกตํ่า
เนื่องจากในปี พ.ศ. 2533 ได้เกิดการเรียกร้องของเกษตรกรชาวสวนยาง ขอความเป็นธรรมจากราคายางที่ตกต่ำ โดยมีการปิดทางรถไฟที่ชุมทางรถไฟทุ่งสง จังหวัดนครศรีธรรมราช ซึ่งนายบรรหาร ศิลปอาชา
เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ในสมัยนั้น และเป็นผู้รับผิดชอบกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง ได้เดินทางไปแก้ปัญหา และมีความเห็นว่าควรจัดตั้งคณะกรรมการนโยบายยางแห่งชาติ (กนย.) โดยมีนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน เพื่อร่วมกันแก้ปัญหาเรื่องยาง ซึ่งการจัดตั้งนั้นต้องประกอบด้วยตัวแทนรัฐบาล ตัวแทนพ่อค้ายางและตัวแทนเกษตรกรชาวสวนยาง แต่จากการสำรวจปรากฏว่ายังไม่มีผู้แทนเกษตรกรชาวสวนยาง
ในระดับประเทศ ดังนั้น นายบรรหาร ศิลปะอาชา รัฐมนตรีฯ จึงสั่งให้นายอุดร ตันติสุนทร รัฐมนตรีช่วยฯ ดำเนินการจัดตั้งสถาบันเกษตรกรระดับประเทศ เพื่อเข้าไปเป็นคณะกรรมการนโยบายยางแห่งชาติ (กนย.)
โดยให้กรมวิชาการเกษตรเป็นผู้ดำเนินการ จากการสำรวจปรากฏว่ามีสมาคมชาวสวนยางอยู่ 3 สมาคม คือ สมาคมชาวสวนยางจังหวัดระยอง, ชลบุรี และภูเก็ต จึงรวบรวม 3 สมาคม จดทะเบียนเป็นสมาคมสหพันธ์ชาวสวนยางแห่งประเทศไทย เมื่อวันที่ 21 พฤษภาคม 2533 เพื่อส่งผู้แทนเข้าเป็นคณะกรรมการนโยบายยางแห่งชาติ ซึ่งจากการคัดเลือกนายอุทัย สอนหลักทรัพย์ ได้เป็นนายกสมาคมสหพันธ์ชาวสวนยางแห่งประเทศไทย
และเป็นตัวแทนในคณะกรรมการนโยบายยางแห่งชาติ ซึ่งสมาคมสหพันธ์ชาวสวนยางแห่งประเทศไทย
ได้มีนายกสมาคมฯ ตามรายชื่อดังนี้
วัตถุประสงค์
เป้าหมาย
บทบาทหน้าที่ของสมาคมสหพันธ์ชาวสวนยางแห่งประเทศไทย
ผลการดำเนินงานที่สมาคมสหพันธ์ชาวสวนยางแห่งประเทศไทยเป็นผู้ริเริ่ม พอสังเขป
นโยบายและแผนการขับเคลื่อนในอนาคต
“ผลักดันให้มีการแปรรูปผลผลิตยางพาราภายในประเทศเป็นอุตสาหกรรมยางมากกว่าส่งวัตถุดิบยางพาราเป็นสินค้าออกคู่ไปกับดูแลรักษาสิ่งแวดล้อม ผลิตภัณฑ์สามารถตรวจสอบย้อนกลับได้ รวมทั้งร่วมขับเคลื่อนให้มีการตรวจวัดคาร์บอนด้วยนวัตกรรมและสามารถซื้อ-ขายคาร์บอนเครดิตเป็นอาชีพเสริมให้แก่เกษตกร ให้เป็นวาระแห่งชาติก้าวสู่การเป็นศูนย์กลางตลาดยางพารา (Hub) ของโลกในอนาคต”
นายอุทัย สอนหลักทรัพย์ นายกสมาคมสหพันธ์ชาวสวนยางแห่งประเทศไทย เปิดเผยว่า สมาคมสหพันธ์ชาวสวนยางแห่งประเทศไทย พร้อมคณะ ได้เข้าพบนายประสิทธิ์ ดำรงชิตานนท์ รองประธานกรรมการ ธุรกิจพืชครบวงจร ข้าว ขนส่งและบริการเครือเจริญโภคภัณฑ์ เพื่อหารือแนวทางการเชื่อมโยงการด้านการตลาดทั้งด้านยางพารา มันสำปะหลัง ข้าวโพด และทุเรียน ในเขตพื้นที่เศรษฐกิจพิเศษ ภาคตะวันออก (EEC) จังหวัดระยอง เพื่อให้เป็นไปตาม 5 คลัสเตอร์ ประกอบด้วย ผลไม้ ประมง พืชสำหรับอุตสาหกรรมชีวภาพ พืชสมุนไพร เกษตรมูลค่าสูง และคลัสเตอร์ที่ 6 ยางพารา ล่าสุด ได้ผ่านการพิจารณาจากสำนักนายกรัฐมนตรีเรียบร้อยแล้ว พร้อมกันนี้ ได้เสนอโครงการต่าง ๆ ที่สำคัญ เช่น โครงการอิ่มท้องสมองดี (อาหารกลางวันเด็ก)โครงการเกษตรปลอดภัยครัวไทยสู่ครัวโลก โครงการด้านการจัดการสิ่งแวดล้อมในโรงงาน(CSR) คาร์บอนเครดิตในสวนยาง การจัดงานมหกรรมยางพาราไทย-จีน ครั้งที่ 2 จังหวัดระยอง และเชิญร่วมศึกษาดูงานด้านยางพารา ที่สาธารณรัฐประชาชนจีน อย่างไรก็ตาม การเข้าพบครั้งนี้เป็นการเชื่อมโยงและต่อยอดในการพัฒนาสินค้าเกษตร การแปรรูปให้ได้คุณภาพ และได้มาตรฐานตามกระบวนการผลิตอย่างเป็นระบบ
CR: กัญญ์พรภัสร์ เอี่ยมมีชัย/ผู้สื่อข่าวจังหวัดพระนครศรีอยุธยา/รายงาน
Retrieved from https://arunnewsalannews.blogspot.com/2023/07/eec.html?m=1